วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

จัดทำโดย

1.นายนัตพงษ์ โชติทรัพย์ เลขที่2

2.นายประสิทธิ์ ศรีละวรรณ เลขที่5

3.นายอนุชิต บึงบุญศรี เลขที่6



ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1
โรงเรียนนามนพิทยาคม ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
เว็บบล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ง.30245
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา24


ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ
         ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
        ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
         ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
         ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
          ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
ข้อมูลจาก
http://www.yimsiam.com
ประวัติ ในประเทศไทย
   ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก ) 
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ .2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “ 

วิวัฒนาการการเล่น
    การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

กติกากีฬาตะกร้อลอดห่วง

ของ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง-แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
____________________________________________________
1. สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง                ความสูงของห่วงชัย   5.50 เมตร
- ประเภทประชาชน                                                           ความสูงของห่วงชัย    5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
- ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
4. ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน
5. กรรมการผู้ตัดสิน
ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ให้ทำหน้าที่ บันทึกคะแนน, รักษาเวลา, ประกาศคะแนน และผู้ชี้ขาด
6. ทีมที่เข้าแข่งขัน
6.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าทำการแข่งขัน 7 คน หากทีมใดมีผู้เล่นไม่ถึง 6 คน ไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยให้ส่งรายชื่อก่อนการแข่งขัน 30 นาที
6.2 ในระหว่างแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ซึ่งจะเปลี่ยนเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีม ต้องยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย) ซึ่งแต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าไปใหม่ จะต้องไม่เล่น ในท่าที่ผู้เล่นเดิมทำครบแล้ว 2 ครั้ง และผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวกลับคืนได้อีก
6.3 ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อด้านหน้า และด้านหลังอย่างเรียบร้อยด้วยตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีของเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นทีมเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้
6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ส่วนผู้หญิง ให้สวมเสื้อยืดมีแขน และกางเกงขาสั้นระดับเข่า สวมใส่รองเท้าพื้นยาง (ถุงเท้าด้วย) กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่ชุดวอร์มแข่งขันได้
6.4.1 ส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.4.2 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ไม่อนุญาตให้ใช้
6.5 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะเริ่มจับเวลา โดยให้ถือเป็นเวลาของการแข่งขันของทีมนั้นๆ หากทีมนั้นพร้อมเมื่อใด ก็ให้ทำการแข่งขันตามเวลาที่เหลืออยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถลงสนามแข่งขันหรือยังไม่พร้อมทำการแข่งขัน ให้ทีมนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ โดยไม่มีอุทธรณ์
7. กำหนดเวลาการแข่งขัน
7.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขัน 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา (20 นาที) กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ทำได้
7.2 ผู้เข้าแข่งขันในทีมใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการแข่งขันอยู่ และไม่สามารถทำการแข่งขัน ให้ขออนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้
7.3 หากนักกีฬาทีมที่บาดเจ็บนั้น จะกลับเข้าทำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อกรรมการผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ต้องให้เป็นไปตาม ข้อ 6.1
8. การแข่งขัน
8.1 ให้ผู้เล่น ยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นจะสลับเปลี่ยนที่กันก็ได้
8.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นไป เมื่อลูกตาย ผู้เล่นใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยน และต้องโยนให้คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยน ต้องอยู่นอกวงกลม
8.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้
8.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือจับลูก ผู้เล่นที่ใช้มือจับลูกต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้วปล่อยให้ลูกตายก่อน จึงนำลูกมาโยนเพื่อเล่นต่อไปได้
8.5 กรณีต่อไปนี้ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่
(1) ลูกตกถึงพื้นสนาม
(2) ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดบ่วงมือ แล้วลูกกระทบบ่วงมือนั้น
(3) ลูกติดกับห่วงชัย
(4) ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง
8.6 ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่เข้าห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้กรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่กำหนดในข้อ 8.เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปเข้าห่วง
(2) ผู้เล่นถูกลูกเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
(3) ลูกเข้าห่วงแล้วกระดอนออก
(4) ผู้เล่นคนใดเตะลูกเข้าห่วง ซ้ำท่าเกินกว่า 2 ครั้ง
9. การให้คะแนนของท่าการเล่น
ลำดับ

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
18
20
21
22
23
24
25
26
27

ท่าการเล่น
ลูกด้านหน้า
ลูกหน้าเท้า (ลูกแป)
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกศีรษะ (โหม่ง)
ลูกด้านข้าง
ลูกข้าง
ลูกข้างบ่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้บ่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้บ่วงมือ
ลูกกระโดดไขว้ (ขึ้นม้า)
ลูกกระโดดไขว้บ่วงมือ (ขึ้นม้าบ่วงมือ)
ลูกตัดไขว้
ลูกด้านหลัง
ลูกศอกหลัง
ลูกตบหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูกกระโดดพับหลังตบ
ลูกกระโดดพับหลังตบบ่วงมือ
คะแนน

10
15
30
15
15
20
10
10
10
15
15
25
20
30
10
15
25
15
20
20
25
30
40
30
50
40
50
10. การตัดสิน
10.1 ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด ทีมนั้นชนะ
10.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ทีมใดได้จำนวนครั้งที่เข้าห่วงมากกว่า ทีมนั้นชนะ
10.3 ถ้าได้คะแนน และจำนวนครั้งที่เข้าห่วงเท่ากัน ทีมใดได้เข้าห่วงด้วยท่าที่คะแนนสูง
กว่า ทีมนั้นชนะ
10.4 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้เป็นไปตามระเบียบของการแข่งขันครั้งนั้นๆ
ตะกร้อ : แนะนำอุปกรณ์ตะกร้อ – กติกา การเล่นตะกร้อ

กติกา

กติกาเซปักตะกร้อ
( SEP AKTAKRAN RULES & REGULATIONS )

ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง  4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )

ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1  สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )

ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
 ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2   ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3   ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
 ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1                       การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2                       เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3                       ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4                       การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3  เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่”  ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
 ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )

ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่  2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3    ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายชองสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมชูปถัมภ์
สนาม
1. ก. สนามจะต้องทำแบบ ก. ( เว้นแต่ในกรณีที่กล่าวไว้ในวรรค ข. แห่งกติกาข้อนี้ ) ซึ่งมีความกว้างยาวตามที่แสดงไว้ในแบบนั้น และจะต้องทำเส้นด้วยสีขาว หรือสีดำ หรือสีอื่นๆ ทั้งเห็นได้ง่าย ความกว้างของเส้น 1 ½  นิ้ว  ( 0.038 เมตร )
ในการทำสนาม เส้นกลางจะแบ่งสนามออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกข้างขวา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในสนามที่ส่งลูกข้างซ้าย ความกว้างของเส้นส่งลูกสั้นและเส้นส่งลูกยาวจะต้องรวมอยู่ในความยาว 13 ฟุต ( 3.96 เมตร) ของสนามส่งลูก และความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนดไว้
ข. ในที่ใดที่ไม่สามารถทำสนามสำหรับเล่นคู่ แต่อาจทำสนามสำหรับเล่นเดี่ยวได้ ก็ต้องตามที่แสดงไว้ตามแบบ ข. เส้นหลังจะกลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วยและเสาหรือวัสดุอย่างอื่นใช้แทนเสา ดังกล่าวในกติกาข้อ 2 จะต้องตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตของสนามตรงกับเส้นแบ่งเขตข้างละ 1 ฟุต ( 0.305 เมตร )
เสา
2. เสาจะต้องสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) จากพื้นสนาม และจะต้องมั่นคงพอจะยึดตาข่าย ดังกล่าวในกติกาข้อ 3 ให้ขึงตึงอยู่ได้ และจะต้องตั้งอยู่ตรงกับเส้นแบ่งแดนเขตข้างของสนาม ดังกล่าวในข้อ  1 ข. ในกรณีที่จะทำการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดที่แสดงให้เห็นว่า เส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย เช่น ใช้เสาบางๆกว้างไม่น้อยกว่า 1 1/2 นิ้ว  ( 0.38 เมตร ) ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้มาที่ตาข่าย
ตาข่าย
3. ตาข่ายจะต้องทำด้วยด้ายย้อมฝาดเส้นเล็ก มีตากว้างยาว 3/4 นิ้ว ( 0.019 เมตร ) ตาข่ายจะต้องขึงให้ตึงจากเสาหนึ่งถึงอีกเสาหนึ่งและจะต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 เมตร) ริมบนของตาข่ายจะต้องห่างจากพื้นสนามตอนจุดกลางสนาม 5 ฟุต ( 1.524 เมตร ) และเสาจะต้องสูงจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาวพับ 2 ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ( 0.076 เมตร ) มีเชือกหรือลวดร้อยตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงให้ได้ระดับกับหัวเสาทั้งสองข้าง
ตะกร้อ
4. ลูกตะกร้อจะต้องสานด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้นขึ้นไป เป็นรูปทรงกลมขนาดวัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว และไม่เกิน 17 นิ้ว น้ำหนักเมื่อเริ่มการแข่งขันลูกตะกร้อไม่เบากว่า 170 กรัม และไม่หนักกว่า 220 กรัม ในการแข่งขันทุกครั้งให้ใช้ลูกตะกร้อของกรรมการที่สนามจัดไว้
 ผู้เล่น
  1. ก. คำว่าผู้เล่น หมายถึงผู้ร่วมเล่นในเกมทุกคน
ข.ในการเล่นประเภท 3 คน ผู้เล่นต้องมีข้างละ 3 คน ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และในการเล่นประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 1 คน
ค.ข้างใดที่มีสิทธิ์ส่งลูก จะต้องเรียกว่า ข้างส่งลูก ส่วนอีกข้างหนึ่งนั้นให้เรียกว่า ข้างรับลูก
การสี่ยง
  1. ก่อนที่จะเริ่มต้นเล่น ทั้งสองข้างต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ก.                                                                                                                        เลือกส่งลูกก่อน หรือ
ข.                                                                                                                        ไม่ส่งลูกก่อน หรือ
ค.                                                                                                                        เลือกแดนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะเลือกได้แต่ข้อที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับคะแนน
7. ก.    การเล่นประเภท 3 คน เกมหนึ่งมี 21 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 19 หรือ 20 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือกกำหนด ให้เกมนั้นเริ่มต่อไปอีก 5 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 21 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “ ล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 5 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน และข้างที่ได้ 5 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” การเล่นดังกล่าวในข้อนี้จะต้องกระทำก่อนการส่งลูกในครั้งต่อไป จากที่ได้คะแนน 19 หรือ 20 เท่ากัน
ข. การเล่นประเภทคู่ เกมหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” .ให้เกมนั้นเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 15 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 13  หรือ 14 คะแนนเท่ากันแล้ว คะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
ค.การเล่นประเภทเดี่ยว เกมหนึ่งมี 11 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 9 หรือ 10 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือก “ เล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 7 ก. วรรค 2
ง. ฝ่ายใดที่สละสิทธิ์เลือกกำหนดการเล่น ซึ่งเกิดขึ้นในโอกาสแรกแล้วก็ไม่มี่สิทธิ์เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” ในโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
จ. ในการเล่นที่มีแต้มต่อแต่ไม่ยอมให้ใช้สิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ”
  1. ถ้าไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น จะต้องเล่นให้ชนะเกมมากที่สุดใน 3 เกม ผู้ที่เล่นจะเปลี่ยนข้างกันเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 2 และเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนข้างกัน ( ถ้าต้องเล่นถึงเกมที่ 3 ) และในการเล่นเกมที่ 3 นี้ก็จะต้องเปลี่ยนข้างกัน ตามคะแนนที่ได้ ดังที่กำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ
ก.      11 คะแนนสำหรับเกม 21 คะแนน
ข.      8 คะแนนสำหรับ 15 คะแนน
ค.      6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
หรือในการเล่นชนิดที่การเล่นมีแต้มต่อ ข้างใดข้างหนึ่งทำได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนทั้งหมดที่จะต้องทำเพื่อชนะเกมนั้น ( ในกรณีที่มีเศษให้ปัดขึ้น ) ถ้ามีการตกลงจะเล่นเกมเดียว ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างดังกล่าวไว้ตามการเปลี่ยนแปลงข้างในเกมที่ 3 ข้างบนนี้
ถ้าผู้เล่นละเว้นการเปลี่ยนข้างตามกติกาที่วางไว้นี้โดยไม่ตั้งใจ ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้สึกตัวว่าตนผิด แต่คะแนนที่ได้อยู่เท่าใดก็ให้นับต่อไปตามนั้น
การเล่นประเภท 3 คน
9. ก. เมื่อได้ตกลงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน ผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม “ ส่งลูก ” ต้องส่งลูกทแยงมุมตรงกันข้ามถ้าผู้เล่นนั้นโต้ลูกกลับไปก่อนที่ลูกจะถูกพื้นลูกนี้ก็จะถูกโต้กลับมาโดยข้าง“ ส่งลูก ”แล้วข้าง  “ รับลูก” ก็จะโต้กลับไปอีก โต้กลับไปกลับมาเรื่อยไปจนกระทั่งเกิด“ เสีย ”ขึ้น หรือจนกระทั้งลูกอยู่ใน“ การเล่น ” (ดูกติกาข้อนี้วรรค ข.) ถ้าข้าง “ ส่งลูก ” ทำลูก “ เสีย ” การส่งลูกของผู้ส่งลูกคนแรกก็หมดสิทธิ์ ข้าง “ ส่งลูก ” ก่อน ส่งลูกได้เพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น (ดูกติกาข้อ 11) แล้วผู้เล่นของอีกข้างหนึ่งที่อยู่ในสนาม ส่งลูกด้านขวามือก็กลับเป็นผู้ส่งลูก ถ้าข้าง “ รับลูก ” โต้ลูกกลับไปไม่ได้หรือทำ “ เสีย ” ข้าง “ ส่งลูก ” ก็ได้ 1 คะแนน เมือได้คะแนนแล้ว ผู้เล่นข้าง “ ส่งลูก ” ผู้นั้นก็เปลี่ยนที่ส่งลูกโดยเปลี่ยนจากสนามด้านขวามือไปส่งลูกในสนามด้านซ้ายมือส่งไปยังผู้เล่นอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสนามทแยงมุมตรงข้าม ตราบใดที่ฝ่ายนั้นยังเป็นฝ่าย “ ส่งลูก ” อยู่ การส่งลูกก็จะต้องลงจากสนามส่งลูกไปยังสนามรับลูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม การเปลี่ยนสนามส่งลูกโดยข้าง “ ส่งลูก ” จะกระทำได้ต่อเมื่อตนทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุก 1 คะแนน
ข. ฝ่ายส่งลูก จะต้องส่งลูกแรกจากสนามส่งลูกด้านขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกได้เล่นลูกจนกระทั่งส่งลูกออกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะต้องถือว่าลูกอยู่ในการเล่นจนกว่าลูกนั้นถูกพื้นหรือเกิดการ “ เสีย ” หรือ “ เอาใหม่ ” เกิดขึ้น นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 เมื่อได้ส่งลูกไปแล้วจนกระทั่งลูกนั้นได้ข้ามตาข่ายไปยังข้างรับลูก  ผู้ส่งลูกจะอยู่ ณ  ที่หนึ่งที่ใดในด้านของฝ่ายตน ซึ่งมีตาข่ายกั้นอยู่เป็นเขตก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเขตต่างๆ
ในการเล่น ผู้เล่นจะเปลี่ยนแนวหรือตำแหน่งกันได้ก็ต่อเมื่อหมดสิทธิ์การรับ-ส่ง และผู้ตัดสินอนุญาตแล้วเท่านั้น
10.    ผู้ที่จะรับลูกส่งได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นรวมกันกับผู้รับส่งลูก หรือผู้ที่เล่นรวมกับผู้รับลูกส่งเว้นผู้เล่นแนวหลัง (มือที่สาม) เล่นลูกนั้น ข้างส่งลูกได้ 1 คะแนน ผู้เล่นคนเดียวกันจะรับลูกส่งที่ฝ่ายส่งมาซ้ำกันสองครั้งติดกันไม่ได้ในเกมเดียวกัน นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 12
11.        ข้างที่เริ่มเล่นเกมแรก หรือในเกมต่อไปจะส่งลูกได้คนเดียวในการเล่นคราวแรก ผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยไปด้วยการเปลี่ยนแดนส่งเมื่อตนได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกครั้งเรื่อยไปจนกว่าตนทำเสีย จากนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกได้อีก 2 คน จนกว่าฝ่ายตนจะทำเสีย 2 ครั้ง ผู้ร่วมเล่นแต่ละข้างจึงจะส่งลูกได้ครบตามจำนวน ในการส่งลูกเริ่มเล่นในกมต่อไปให้ฝ่ายที่ไม่ได้เริ่มส่งครั้งแรกเป็นฝ่ายส่งลูก ถ้าเริ่มเล่นในเกมที่สามให้ฝ่ายที่ไม่ได้ส่งลูกในเกมที่สองเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน
12.         ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดนเวลาส่งลูกและบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้มจะต้องมีการให้เอาใหม่โดยเงื่อนไขการให้ “เอาใหม่” นี้ จะต้องใช้สิทธิ์เรียกร้องก่อนจะมีการส่งลูกในครั้งต่อไป
ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดน และไม่ทราบว่าตนยืนผิด จนกระทั่งมีการส่งลูกในคราวต่อไปแล้ว ถือว่าให้ผ่านไปและจะใช้สิทธิ์ให้ “เอาใหม่” ไม่ได้ และตำแหน่งที่ยืนของผู้เล่นก็ต้องปล่อยไว้จนกว่าจะหมดเกม
การเล่นประเภทคู่
ในการเล่นประเภทคู่ให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่วิธีการเล่นครั้งแรกผู้ส่งลูกเริ่มเล่นได้เพียงคนเดียว เมื่อลูกเสียโดยฝ่ายส่งลูกเป็นผู้กระทำ ให้เปลี่ยนข้างส่งลูกโดยผู้ส่งครั้งหลังส่งเรื่อยไปจนกว่าฝ่ายตนจะทำเสียทั้งสองคน
 การเล่นประเภทเดี่ยว
13. ในการเล่นประเภทเดี่ยวให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่
ก.  ผู้เล่นจะต้องส่งลูก หรือรับลูกส่งในสนามรับลูกส่งขวามือ แต่เฉพาะเมื่อการนับคะแนนของผู้ส่งลูกจำนวนศูนย์หรือจำนวนเลขคู่เท่านั้น การส่งลูกและรับส่งลูกจะต้องส่งและรับในสนามส่งลูกซ้ายมือ เมื่อการนับแต้มของผู้ส่งลูกได้จำนวนเป็นเลขคี่
ข.      ผู้เล่นทั้งสองต้องเปลี่ยนแดนส่งลูก ภายหลังที่ทำคะแนนได้ 1 คะแนน ทุกครั้ง
การทำ “เสีย”
  1. การทำเสียซึ่งผู้เล่นที่เป็นข้าง “ส่งลูก” เป็นผู้ทำขึ้น จะทำให้ลูกตาย แต่ถาผู้เล่นข้างฝ่ายรับลูกเป็นผู้ทำขึ้น ข้างส่งลูก ได้คะแนน 1 คะแนน
การทำเสียเกิดขึ้นเมื่อ
ก.      ในการส่งลูก ถ้าเล่นลูกเกินกว่า 1 ครั้ง และขัดที่เล่นลูกนั้นสูงกว่าระดับเข็มขัดปกติ
ข.      ในการส่งลูก ถ้าลูกไปตกลงในสนามส่งลูกที่ผิด คือ ไม่ตกทแยงมุมตรงกันข้ามกับผู้ส่งลูก หรือตกไม่ถึงเส้นส่งลูกสั้นหรือตกเลยเส้นส่งลูกยาว หรือตกนอกเส้นเขตข้างของสนามส่งลูก ที่ต้องส่งลูกนั้นไป
ค.      ถ้าเท้าของผู้ส่งลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูก ที่จะต้องส่งลูกไป หรือเท้าของผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกส่ง ไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่อยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม จนกระทั่งลูกได้ส่งออกมาแล้ว (ดูกติกาข้อ 16)
ง.       ในขณะที่ทำการส่งลูก หรือก่อนที่จะส่งลูก ถ้าผู้เล่นคนใดหลอกล่อ หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นการกระทำให้ไม่สะดวกแก่คู่ต่อสู้ของเขา
จ.       ในการส่งลูกก็ดี หรือในการโต้ลูกไปตกนอกเขตสนามหรือผ่านทะลุตาข่ายไป หรือผ่านไปใต้ตาข่ายหรือไม่ข้ามตาข่ายหรือไปถูกหลังคา หรือฝาผนัง หรือถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายของผู้เล่นคนหนึ่งคนใด(ลูกที่ตกลงบนเส้นจะต้องถือว่าได้ตกลงบนสนามหรือสนามส่งลูก หรือเส้นนั้นเป็นขอบเขต)
ฉ.      ถ้าลูกที่กำลังเล่น ฝ่ายโต้ได้เล่นลูกก่อนที่จะข้ามตาข่ายมาข้างตน(อย่างไรก็ดี ผู้เล่นลูกอาจใช้ส่วนของร่างกายที่ถูกลูกตามกติกาตามลูกที่ตนเล่นไปได้)
ช.      เมื่อลูกอยู่ในเวลา “กำลังเล่น” ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกตาข่ายหรือที่ขึงตาข่าย ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
ซ.      ถ้าลูกถูกตัวฝ่ายผู้เล่นเกินกว่าสองครั้งติดๆกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกันหรือลูกถูกตัว โดยผู้เล่นและผู้ร่วมเล่นฝ่ายเดียวกันติดๆกัน
ฌ.     ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งกีดขวางฝ่ายตรงข้าม
ญ.     ในการเล่นแต่ละครั้งถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นข้างเดียวกันเกินกว่า 1 คน
ฎ.      ถ้าฝ่าฝืนกติกาข้อ 16.
ฏ.      เล่นลูกด้วยแขนท่อนบน แขนท่อนล่าง ศอกข้าง ศอกหน้า และมือ(ยกเว้นยอมให้ผู้เล่นใช้ศอกหลัง ไหล่ และศีรษะได้)
กติกาทั่วไป
  1. ผู้ส่งลูก จะต้องไม่ส่งลูกจนกว่าคู่ต่อสู้ของเขาพร้อมแล้วว่าพยายามจะโต้ลูกที่ส่งไปนั้น
  2. ผู้ส่งลูกและผู้เล่นที่รับลูกส่ง ต้องยืนอยู่ภายในขอบเขตสนามรับลูกส่งของตน(ตามที่กำหนดเขตไว้โดยมีเส้นส่งลูกยาว เส้นส่งลูกสั้น เส้นกลางและเส้นข้าง)และบางส่วนของเท้าทั้งสอบข้างของผู้เล่นเหล่านี้ จะต้องถูกพื้นสนามอยู่ในท่านิ่ง จนกระทั่งการส่งลูกได้กระทำแล้วเท้าใดเท้าหนึ่งของผู้ส่งลูกก็ดีอยู่บนเส้นหรือถูกเส้น จะต้องถือว่าเท้านั้นอยู่นอกสนามส่งลูก และสนามรับส่งลูก (ดูกติกาข้อ 14 ค.)คู่ของผู้ส่งลูกและคู่ของผู้รับลูก จะยืนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือกีดขวางการส่งลูกและรับลูก สำหรับผู้เล่นแนวหลังขณะรับและส่งจะยืนล้ำหน้าผู้เล่นแนวหน้าไม่ได้
  3. ถ้าในการส่งลูกหรือโต้กัน ลูกกระทบตาข่ายและข้ามตาข่ายไปได้แล้วไม่ถือเป็นลูกเสีย ถ้าโต้ลูกผ่านออกไปนอกเสาตาข่ายข้างใดข้างหนึ่งแล้วไปตกบนเส้นหรือภายใต้เส้นเขตของสนามฝ่ายตรงกันข้าม เช่นนี้ถือว่า เป็นลูกเสีย ในกรณีที่เกิดการกีดขวางขึ้นโดยบังเอิญ หรือโดยคาดไม่ถึง ผู้ตัดสินอาจตัดสินให้
“เอาใหม่ ” ได้
  1. ถ้าผู้ส่งลูกเล่นลูกส่งผิดเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเสีย แต่ถ้าลูกได้ถูกร่างกายต้องถือว่าได้ส่งลูกแล้ว
  2. ในระหว่างการเล่น ลูกถูกตาข่ายและติดตาข่ายอยู่ หรือถูกตาข่ายแล้วตกลงไปยังพื้นสนามด้านของผู้โต้ลูก หรือตกพื้นภายนอกสนามแล้วฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งถูกตาข่าย หรือโต้ลูก หรือตัวถูกลูก ไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามผู้นั้นกระทำผิด เพราะเวลานั้นลูกมิได้อยู่ในการเล่น
  3. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีโอกาสจะโต้ลูกในทางจากสูงลงต่ำเมื่อลูกนั้นอยู่ใกล้ตาข่ายมาก ฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่เอาส่วนของร่างกายยื่นเข้ามาใกล้ตาข่าย เพื่อให้มีโอกาสที่ลูกจะสะท้อนกลับจากร่างกายส่วนนั้นได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำกีดขวาง ตามความหมายของกติกาข้อ 14 ( ญ )
  4. เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ผู้เล่นเรียกร้อง และต้องให้คำวินิจฉัยเด็ดขาดในการอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้เถียงเรื่องคะแนนซึ่งร้องเรียนขึ้นมาก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปและผู้ตัดสินเลือกตั้งผู้กำกับเส้นตามที่เห็นสมควร คำวินิจฉัยของผู้ตัดสินต้องยืนยันตามคำบอกของผู้กำกับเส้น อย่างไรก็ดีถ้ามีการตั้งผู้ชี้ขาดขึ้น ซึ่งผู้ตัดสินได้วินิจฉัยโดยเด็ดขาดแล้วเท่านั้น
การดำเนินการแข่งขัน
  1. การแข่งขันจะต้องดำเนินไป ตั้งแต่ต้นจนจบการแข่งขันเว้นไว้แต่
ก.      ในการชิงชนะเลิศตะกร้อระหว่างชาติ จะมีการหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3  ของการแข่งขัน
ข.      ในประเทศที่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ อาจจะมีการผ่อนผันให้พักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์กรนานาชาติเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน ระหว่างการแข่งขันเกมที่ 2 – 3 ในประเภทเดี่ยว คู่ หรือสามคน
ค.      เมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ผู้ตัดสินอาจจะสั่งให้ยุติการแข่งขันได้ตามที่เห็นสมควร ถ้ามีการชะงักการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้น คะแนนที่ได้ต้องอยู่คงเดิมและจะเริ่มต้นแข่งขันใหม่จากคะแนนที่ได้อยู่แล้วนั้น การแข่งขันจะหยุดไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ในการที่จะให้นักกีฬาหยุดพักเพื่อจะได้มีกำลังเล่นต่อไป หรือเพื่อจะได้รับการแนะนำสั่งสอนวิธีการเล่นจากผู้อยู่นอกสนาม ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์อกนอกสนามแข่งขันได้ก่อนที่จะจบการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน ผู้ตัดสินมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวที่จะหยุดการแข่งขันและมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือไล่ออกแก่ผู้กระทำผิดกติกา
การตีความ
  1. การเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด โดยผู้ส่งลูก ซึ่งมีผลขัดขวางความต่อเนื่องของการส่งลูกภายหลัง เมื่อผู้ส่งลูกและผู้รับลูกได้เข้ายืนตามตำแหน่งเพื่อส่งและรับลูกแล้ว ถือว่าเป็นการหลอกล่อ (ดูกติกาข้อ 14 ง.)
  2. กรณีดังกล่าวถือเป็นเสีย ตามข้อ 14 (ช.)
ก.      ถ้าลูกติดอยู่ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ในระหว่างโต้ลูกแล้วสลัดออกไปแทนที่จะโต้โดยเฉียบขาด หรือ
ข.      ถ้าเล่นลูกครู ไม่ว่ากรณีใดๆ
  1. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรุกเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้แม้จะเล็กน้อยหรือด้วยเครื่องแต่งกายก็ดี ให้ถือเป็นการกีดขวาง นอกจากที่อนุญาตให้ทำได้ในกติกาข้อ 14 (ฉ.) ดูกติกาข้อ 14(ญ.)
  2. ในที่ที่มีความจำเป็นเนื่องจากลักษณะของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับตะกร้อประจำท้องถิ่น อาจวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สิทธิ์ของสมาคมแห่งชาติด้วย
  3. ในระหว่างการโต้ลูก เมื่อลูกข้ามตาข่ายฝ่ายหนึ่งไปแล้ว และปรากฏว่าอีกฝ่ายได้ทำลูกเสีย หรือลูกตาย อีกฝ่ายจะถูกตาข่าย หรือเหยียบล้ำเส้นแบ่งแดน (ใต้ตาข่าย) ก็ได้ไม่ถือว่าเสีย
1. สนาม
ยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร เพดานสูง 8.00 เมตร มีเส้นแบ่งแดนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน มีเส้นครึ่งวงกลมทั้ง 2 แดน รัศมี 30 ซม. เสาสูง 1.55 เมตร ( เยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ) และทีมหญิงเสาสูง 1.45 เมตร ตาข่ายกว้าง 70 ซม. ตรงกลางของตาข่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร ( เยาวชน 1.42 เมตร )
2. ลูกตะกร้อ
ทรงกลม มีเส้นรอบวง 42 – 44 ซม. มี 12 รูกับ 20 จุดไขว้ตัด ทำด้วยหวายหรือใบสังเคระห์ ถ้าเป็นหวายต้องมี 9 – 11 เส้น น้ำหนัก 170 – 180 กรัม
3. เครื่องแต่งกาย
สวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ต้องเอาชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว และการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หัวหน้าทีมต้องใส่ปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้าย ติดหมายเลขด้านหลัง 1 – 15
กติกาตะกร้อ
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที